HappyHappy

......

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติเมืองอุบล



ปีพุทธศักราช 2228 ได้เกิดวิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เนื่องจากจีนฮ่อธงขาวยกกำลังปล้นเมือง เจ้านครเชียงรุ้ง ได้แก่ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ อพยพ ไพร่พลมาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งเวียงจันท์ ซึ่งเป็นพระประยูรญาติฝ่ายมารดาได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองหนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดนี้พึ่งตั้งใหม่ครับ ถ้านึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหน ก็ให้ดูแถวๆ อุดรฯ ขอนแก่น ครับ) ตั้งชื่อว่า "นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน" ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดา ได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ สองท่านนี้จะมีความสำคัญต่อเมืองอุบล เชิญติดตามต่อเลยครับ
               ปีพุทธศักราช 2314 (ผ่านมาอีกเกือบร้อยปี) เกิดสงครามแย่งอำนาจระหว่างเวียงจันท์ กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยที่เจ้าสิริบุญสาร เจ้าแผ่นดินเวียงจันท์ขอ เอาบุตร ธิดา เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอไม่ให้ครับ เมื่อไม่ได้ดังพระทัย เจ้าสิริบุญสารจึงให้กองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้เป็นสามารถ กองทัพเวียงจันท์ต้องพ่ายกลับไปเสมอ การรบครั้งนี้กินเวลาถึง 3 ปี ไม่แพ้ไม่ชนะกัน เจ้าสิริบุญสารเจ็บใจ จึงส่งทูตไปขอเอากองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู แล้วจะยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า อ่านดูดีๆ นะครับ อย่างนี้ก็มีด้วย ตัวเองสู้ไม่ได้ ไปชวนคนอื่นมาช่วยรบกับชาวบ้าน แล้วจะยอมเป็นเมืองขึ้นด้วย เรียกว่าอยากเอาชนะจนไม่ลืมหูลืมตาครับ
               ฝ่ายเจ้าพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ถ้าทางจะสนใจข้อเสนอ จึงให้ ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสาร ฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก เห็นเหลือกำลังที่จะสู้กับข้าศึก คือคิดว่าอาจจะแพ้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็กและผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หาที่สร้างบ้านสร้างเมือง ทำไร่ทำนาหาอาหารไว้คอย หากแพ้สงครามก็จะได้ตามไปอยู่ด้วย แล้วก็แพ้จริงๆ ครับ เจ้าบุตรทั้งหลายจึงพาไพร่พลอพยพไปตามที่เจ้าพระตาสั่ง ได้มาตั้งบ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่าไว้คอย (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร)
               เจ้าพระตามีบุตร ชายหญิงรวม 8 คน คือ นางอูสา นางสีดา เจ้าพระวอ นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา เมื่อเจ้าพระตาออกสู้รบและถึงแก่ความตาย เจ้าพระวอ ผู้เป็นบุตรชายคนโตได้ เป็นหัวหน้ากลุ่มแทน เห็นว่าจะต่อสู้ต่อไปไม่ได้ จึงหลบหนีออกจากเมือง ผ่านรับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปอยู่ "ดอนมดแดง" โดยของพึ่งพระเจ้าไชยกุมารองค์หลวง แห่งนครจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าไชยกุมารองค์หลวง ขอให้เจ้าพระวอไปอยู่ที่ค่ายบ้านดู่ บ้านแก เพื่อจะได้พึ่งพากันยามคับขัน เจ้าพระวอยินยอมไปอยู่ โดยที่ดอนมดแดงให้แสนเทพและแสนนาม คุมไพร่พลอยู่รักษาแทน เจ้าสิริบุญสารทราบข่าว ความแค้นยังไม่หาย ได้ให้อัคฮาด หำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีค่ายบ้านดู่ บ้านแก เจ้าพระวอสู้ไม่ได้ เสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องได้ ขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มแทน เจ้าคำผงก็คิดว่าสู้ไม่ได้แน่ จึงส่งทหารนำใบบอกลงไปเมืองนครราชสีมาและกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี
               พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบเรื่อง ได้มอบหมายให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพไปช่วย กองทัพพญาสุโพเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงถอยทัพกลับเวียงจันท์ เจ้าพระยาทั้งสองยกทัพติดตามไปตามลำน้ำโขง รบกับเวียงจันท์อยู่ถึงสี่เดือน ในที่สุดเวียงจันท์ก็แตก เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ได้คุมตัวเจ้าเมืองเวียงจันท์ลงไปกรุงธนบุรี พร้อมได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางเจ้าไปด้วย ส่วนเจ้าคำผงย้ายกลับไปอยู่ดอนมดแดงที่เดิม
               ปีพุทธศักราช 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ดอนมดแดง เจ้าคำผงจึงได้อพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนไกล้ห้วยแจละแม (บริเวณฯ บ้านท่าบ่อในปัจจุบัน) รอน้ำลดแล้วจึงค่อยหาที่ตั้งเมือง
               ปีพุทธศักราช 2320 เจ้าคำผงอพยพไพร่พล มาสร้างบ้านเมืองที่ ดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ำมูล (ตัวจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน)
               ปีพุทธศักราช 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งให้เป็นเมืองอุบลราชธานี ให้ เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองที่พระประทุมราชวงศา ให้เจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด ให้เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ ให้เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร เป็นคณะอาชญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบล
               ปีพุทธศักราช 2324 เมืองเขมรเกิดความไม่สงบ พระเจ้ากรุงธนบุรี ขอกำลังจากเมืองอุบลไปสมทบกองทัพหลวง พระประทุมราชวงศา และราชวงศ์เป็นผู้คุมกำลังไปช่วย จนถึงปีพุทธศักราช2325 เกิกดจราจลที่กรุงธนบุรี กองทัพหลวงและกองทัพจากเมืองอุบลจึงได้แยกกันยกทัพกลับ ผ่านไปอีกสิบปี
               ในปีพุทธศักราช 2334 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกิดกบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ได้ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ จับอ้ายเชียงแก้วได้ และประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ
               ปีพุทธศักราช 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช โปรดเกล้าฯ ให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ประเทศราช พระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช ให้ทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อหน้าพระพักตร์เสกให้ ณ วันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักร 1154 ปีชวด จัตวาศก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2335 ถือเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานี จนถึงปี 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิตพรหม) น้องชายพระประทุม จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีต่อมา รวมเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ท่าน ดังนี้
    1. พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.2335-2338) นามเดิม เจ้าคำผง บุตรเจ้าพระตา
    2. พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พ.ศ.2338-2388) นามเดิม ทิตพรหม น้องชายพระประทุม (คำผง) เป็นบุตรชายคนเล็กของพระตา
    3. พระพรหมราชวงศา (พ.ศ.2388-2409) นามเดิม กุทอง สุวรรณกูฏ บุตรพระพรหม (ทิตพรหม)
    4. จ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (พ.ศ.2409-2425) เจ้าพรหมเทวา (เจ้าหน่อคำ) เป็นพี่ชายเจ้าจอมมารดาด้วงคำ ในรัชกาลที่4 เจ้าราชวงศ์จำปาศักดิ์ บุตรเจ้าเสือ หลานเจ้าอนุวงศ์  (ขอบคุณ http://guideubon.com )
    5. อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง)
      ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง ในเมืองอุบลราชธานี

      หัวหน้าขบถที่ตั้งตัวเองเป็น "องค์" ผู้มีบุญหรือผู้วิเศษ ปลุกระดมชาวบ้านให้หลงเชื่อ ถูกจับฐานก่อการจลาจล ถูกพิพากษาให้นำไปตัดศีรษะเสียบประจานในพื้นที่ก่อเหตุ เป็นการประกาศถึงอำนาจอันเด็ดขาดของกรุงเทพฯ ที่มีเหนือดินแดนลาวกาว ส่วนพวกราษฎรที่ถูกจับเป็น ประมาณ ๔๐๐ คน ให้ภาคทัณฑ์สาบานตัวกึกก้องแล้วปล่อยไป ใช้เวลาปราบปราม ๓ เดือน
      (สำเนาจากหนังสือ ขบถฅนอีสาน หน้า ๓๙. เรื่องจากหนังสือ อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี หน้า ๔๕-๕๐)

      ขบถผู้มีบุญหรือขบถผีบุญ ถูกจับมารวมกันไว้ที่ทุ่งศรีเมือง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๔ (ร.ศ. ๑๒๐ สมัยรัชกาลที่ ๕ ขณะที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ประจำที่จังหวัดอุบลราชธานี) (สำเนาจากหนังสือ ขบถฅนอีสาน หน้า ๔๔)

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อุทยานบึงบัวอุบลราชธานี
       ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มีนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมคือ ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชนร่วมกันปลูกบัวทั่วเมืองอุบลฯ และการมีส่วนร่วมก่อตั้งอุทยานบึงบัวอุบลราธานีเฉลิมพระเกียรติฯ ร.๙ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม โดยน้อมนำปฏิบัติพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติ ร.๙   ตั้งอยู่ที่ อบต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อุทยานฯชั้นใน ในพื้นที่หนองน้ำสาธารณะ และผืนดินโดยรอบ ประมาณ ๕๑๙ ไร่  ประกอบด้วย
- กลางหนองน้ำ มีอาคารหอเทียนชัยอุบลราชธานีเป็นอาคารสูงประมาณ ๑๕๙ เมตร( ๒๗ ชั้น) มีองค์ประกอบสำคัญเช่น ยอดบนสุดของอาคาร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ในพระพุทธรูปทองคำ หนักประมาณ ๙ กิโลกรัม  ,อนุสรณ์สถานพระบูรพาจารย์แห่งอีสานพระอริยสงฆ์ ทั้งฝ่ายคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ประมาณ ๙ รูป  ,ที่สักการะเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จักรี  ,หอชมทัศนียภาพอุบลราชธานีที่สวยสดงดงาม  ,ห้องพักประหยัดพลังงาน ๑๒๘ ห้อง  ,มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหลากหลาย  ,มีห้องประชุมเล็ก  ใหญ่  จัดนิทรรศการ  ,มีหอเกียรติคุณอุบลราชธานีเมืองนักปราชญ์  ,มีพิพิธภัณฑ์เทียนอุบลฯ  ,พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดอนุภาคลุ่มน้ำโขง(อุโมงค์ชมปลาใต้น้ำ)
- การจัดภูมิทัศน์ รอบหนองน้ำ นั่งรถรางชมสวน เล่นกีฬาทางน้ำ ส่วนหย่อม ศาลาพักผ่อน ร้านค้าสินค้าพื้นเมือง( OTOP)และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ(จำลอง)ของอุบลราชธานี เช่น ถ้ำคูหาสวรรค์ ,ผาแต้ม ,น้ำตกแสงจันทร์ ,น้ำตกสร้อยสวรรค์  สามพันโบกฯลฯ  งานประติมากรรม กลางน้ำ กลางแจ้ง ของครูช่างศิลปินชาวอุบล  มีศูนย์วิจัยอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์บัว  ตั้งแต่พันธุ์บัวระดับพื้นถิ่น  ระดับชาติ  ระดับนานาชาติ และพันธุ์บัวพระราชทาน  ,มีศูนย์ส่งเสริมุขภาพทั้งกายและจิต  ,มีสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาคริสต์  อิสลาม  และมีสถานที่จัดเป็นอนุสรณ์สถานชาวอินโดจีนทั้งมวล
- สถานที่จอดรถไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คัน
 อุทยานฯชั้นนอก ประกอบด้วย
-อุทยานการเรียนรู้ศึกษาของเกษตรกรไทย การเกษตรปลอดสารพิษตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
-พัฒนาถนนสายบัวเฉลิมพระเกียรติ จากบ้านยางน้อย ถึงหอนาฬิกาอุบลฯความสำเร็จขึ้นอยู่กับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยการหลอมจิตหลอมใจร่วมไม้ร่วมมือ ด้วยความรู้รักสามัคคีอย่างพร้อมเพรียงกัน  จึงจะทำให้อุทยานบังเกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของชาวอุบลราชธานีร่วมกัน

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บ้านปะอาว สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงกับ อุทยานบึงบัว



ตั้งอยู่ที่ตำบลปะอาว หมู่ 5 ห่า งจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 23 ทางไปยโสธร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 273 เลี้ยวขวาไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติศาสตร์นั้น ได้อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าส ิริบุญสาร มายังหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน จนกระทั่งถึงบ้านปะอาวแห่งนี้ ฉะนั้น หมู่บ้านปะอาว จึงมีอายุประมาณ 200 กว่าปี และเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านซึ่งได้รับการสืบ ทอดมาจากบรรพบุรุษคือการทำเครื่องทองเหลือง กรรมวิ ธีการผลิตยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองเหลือง และทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายที่สวยงามอีกด้วย